วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ต้นแคป่า




ข้อมูล
รายละเอียด
ภาพประกอบ
ชื่อพฤกษศาสตร์
Dolichandrone serrulata (Wall. ex DC.) Seem.

วงศ์
แคหางค่าง (BIGNONIACEAE)

ชื่อพื้นเมือง
แคขาว แคภูฮ่อ (ลำปาง), แคป่า (เลย, ลำปาง), แคทราย (นครราชสีมา), แคยาว แคอาว (ปราจีนบุรี), แคยอดดำ (สุราษฎร์ธานี), แคตุ้ย แคแน  (ภาคเหนือ), แคนา (ภาคกลาง)

ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ)
เขตการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศลาว พม่า เวียดนาม และในประเทศไทยสามารถพบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และทางภาคกลาง โดยอาจจะได้ประปรายในป่าเบญจพรรณ และพบได้บ่อยตามนาข้าวทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ระดับความสูงไม่เกิน 300 เมตร

ชนิดป่าที่พบ
โดยสามารถพบต้นแคนาได้ตามป่า ตามทุ่ง ตามไร่นา และตามป่าเบญจพรรณทั่วไป

ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
 - ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้




- ใบ






- ดอก





























 - ผล
-ลำต้น  แคนา หรือ ต้นแคป่า จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีความสูงของลำต้นได้ถึง 10-20 เมตร ลำต้นเปลาตรง มักแตกกิ่งต่ำ เปลือกของลำต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนอมสีเทาและอาจมีจุดดำประ ผิวต้นเรียบหรือล่อนเป็นเกล็ดขนาดเล็ก ๆ
-ใบ  ใบแคนา มีใบเป็นใบประกอบแบบขนชั้นเดียวปลายคี่ ออกตรงข้ามกันประมาณ 3-5 คู่ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว ส่วนขอบใบหยักเป็นแบบซี่ฟันตื้น ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-7 เซนติเมตรและยาวประมาณ 6-16 เซนติเมตร ผิวใบด้านล่างมีขนสั้นอยู่
-ดอก  ดอกแคนา ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะสั้น ดอกมีขนาดใหญ่ ลักษณะของดอกเป็นรูปแตรสีขาว โดยจะออกดอกตามปลายกิ่ง ดอกยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกยาวประมาณ 1.8-4 เซนติเมตร ในแต่ละช่อจะมีดอกอยู่ประมาณ 2-10 ดอก กลีบเลี้ยงหนาและเหนียว ปลายเรียวเล็กและโค้งยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร หุ้มดอกตูมมิด เชื่อมติดกันเป็นหลอดโค้งปลายแหลม เมื่อดอกบานจะมีรอยแตกทางด้านล่าง มีลักษณะเป็นกาบหุ้มกลีบดอกติดกันเป็นท่อ ส่วนปลายขยายออกเป็นรูประฆัง และจะแยกออกเป็นแฉก 5 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกัน ยาวประมาณ 16-18 เซนติเมตร ส่วนหลอดกลีบดอกจะยาวประมาณ 13-14 เซนติเมตร ส่วนโคนจะแคบเป็นหลอด สีเขียวอ่อน ส่วนบนจะบานออกคล้ายกรวยเป็นสีขาวแกมสีขมพู แฉกกลีบดอกมีอยู่ 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร ที่ขอบกลีบจะย่นเป็นคลื่น ๆ ดอกเป็นสีขาว ดอกตูมเป็นสีเขียวอ่อน ๆ โคนกลีบมีสีน้ำตาลปน ดอกมีเกสรตัวผู้ 4 ก้าน ติดอยู่ด้านในของท่อกลีบดอก ปลายแยก มีขนาดสั้น 2 ก้านและยาว 2 ก้าน และยังมีเกสรตัวผู้ที่เป็นหมันอีก 1 ก้าน มีรูปร่างเป็นเส้นเรียวเล็กคล้ายเส้นด้าย มีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ส่วนอับเรณูยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เป็นสีเทาดำ และจานฐานดอกเป็นรูปเบาะ เป็นพูตื้น ๆ และมีเกสรตัวเมียอยู่ 1 ก้าน โดยดอกแคนาจะค่อย ๆ บานทีละดอก
-ผล  แคนา ผลเป็นฝัก ออกฝักช่อละประมาณ 3-4 ฝัก ลักษณะของฝักแบนเป็นรูปขอบขนาน ฝักโค้งและบิดเป็นเกลียว ส่วนเมล็ดเป็นรูปสี่เหลี่ยม รวมปีกบางใส








การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำราก

ช่วงเวลาออกดอก-ผล
ดอกมีกลิ่นหอม บานในตอนกลางคืน และจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน

การใช้ประโยชน์และความสำคัญ
ดอกแคนาสามารถนำมาใช้ประกอบอาหารได้ โดยนำมาทำเป็นแกงส้ม หรือจะนำดอกมาลวก หรือต้มจิ้มกินกับน้ำพริกก็ได้เช่นกัน[1],[3]
รสขมของดอกแคนาจะช่วยทำให้รับประทานอาหารอร่อยยิ่งขึ้น[6]
ต้นแคนาเป็นต้นไม้ทรงพุ่ม ใบและฝักแลดูสวยงาม เหมาะสำหรับปลูกเป็นไม้สำหรับให้ร่มเงาและเป็นไม้ประดับเสริมจุดเด่นให้สวนที่ปลูกได้[4]
ใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น วัว ควาย (ข้อมูลไม่ได้ระบุแน่ชัดว่าใช้ส่วนไหน แต่เข้าใจว่าเป็นดอก)[4]
เนื้อไม้ของต้นแคนาสามารถนำมาใช้ทำสิ่งก่อสร้างอาคารบ้านเรือนได้ เช่น ทำเป็นเสา ไม้กระดาน ฝาเพด้าน พื้น ฯลฯ

แหล่งอ้างอิง
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  แคนา“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com.  

อินทนิลบก


ข้อมูล
รายละเอียด
ภาพประกอบ
ชื่อพฤกษศาสตร์
Lagerstroemia macrocarpa

วงศ์
LYTHRACEAE

ชื่อพื้นเมือง
กากะเลา กาเสลา จ้อล่อ จะล่อ

ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ)
อินเดีย และประเทศในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

ชนิดป่าที่พบ
ขึ้นตามป่าผลัดใบ และป่าเบญจพรรณทั่วไป







ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
 - ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้



 - ใบ



- ดอก








 - ผล
-ต้น  เป็นไม้ต้น ผลัดใบสูงประมาณ 5 – 12 เมตร เป็นไม้ทรงพุ่ม เปลือก ต้นสีน้ำตาล ผิวเปลือกต้นแตกเป็นร่องตื้นให้ใบดก เป็นไม้ที่ให้ร่มเงา






 - ใบ  เป็น ใบเดี่ยว รูปไข่กลับ ออกตรงข้ามกัน ขอบใบเรียบ ปลายแหลม โคนมน ผิวใบมัน และหนา สีเขียวเข้ม กว้าง 10 – 15 ซม. ยาว 20 – 27 ซม.
  - ดอก  ออกดอกเป็น ช่อที่ปลายกิ่ง ดอกตูมเป็นก้อนกลมขนาด 1 ซ.ม. มีหลายสี เช่น ม่วงเข้ม ม่วงอ่อน ชมพูอมม่วง ชมพูอ่อนเกือบขาว มีกลีบดอก 6 กลีบ รูปทรงดอกค่อนข้างกลม ขอบกลีบหยักย่น แผ่นกลีบบางและนิ่ม โคนกลีบเรียว เป็นก้าน เชื่อมกับกลีบรองที่เป็นรูปถ้วย กลีบรองปลายแฉก 6 แฉก สีน้ำตาลแดง เมื่อดอกบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 – 10 ซม.
 - ฝัก/ผล  เป็นรูปกลม รี เปลือกแข็ง เมื่อผลแก่จะแตกออก มีเมล็ดด้านในจำนวนมาก
  -  เมล็ด   ใน 1 ผล มีประมาณ 6 เมล็ด เมล็ด ขนาดเล็กสีน้ำตาล มีปีกบางโค้งทางด้านบนหนึ่งปีก










การขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด

ช่วงเวลาออกดอก-ผล
มีนาคม พฤษภาคม

การใช้ประโยชน์และความสำคัญ
นื้อไม้ นิยมใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน โดยมากใช้ทำกระดานพื้น ฝา กระเบื้อง มุงหลังคา ใช้ต่อเรือใบ เรือแจว เรือเดินทะเล ทำเกวียน เครื่องตบแต่งบ้าน ทำแจว พาย เปียโน หีบใส่ของ ถังไม้ กังหันน้ำ เครื่องมือการเกษตรต่าง ๆ เช่น ทำไถ ไม้นวดข้าว ครก สาก กระเดื่อง ลูกหีบ ซี่ล้อ ทำไม้คาน ไม้กั้นบ่อน้ำ ร่องน้ำ ทำหีบศพอย่างดี

แหล่งอ้างอิง
ลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

ต้นกันเกรา






ข้อมูล
รายละเอียด
ภาพประกอบ
ชื่อพฤกษศาสตร์
Fagraea fragrans Roxb

วงศ์
(GENTIANACEAE)

ชื่อพื้นเมือง
มันปลา (ภาคเหนือ ภาคอีสาน), ตำแสง ตำเสา ทำเสา (ภาคใต้), ตาเตรา (เขมร-ภาคตะวันออก), ตำมูซู ตะมะซู (มลายู-ภาคใต้) เป็นต้น

ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ)
มีถิ่นกำเนิดตามป่าเบญจพรรณและตามที่ใกล้กับแหล่งน้ำ ในประเทศไทย พม่า มาเลเซีย เวียดนาม และอินเดีย สำหรับในบ้านเราต้นกันเกราขึ้นได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย แต่จะพบได้มากทางภาคใต้

ชนิดป่าที่พบ


ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
 - ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้


 - ใบ





 - ผล







- ดอก
-ลำต้น  กันเกรา เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 10-15 เมตร (อาจสูงได้ถึง 25 เมตร) เปลือกต้นเรียบมีสีน้ำตาล เมื่อต้นแก่จะแตกเป็นร่องลึกตามยาว
-ใบ ใบกันเกรา ลักษณะของใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ใบหนาแน่นที่ปลายกิ่ง เป็นรูปรี สีเขียวเข้มเป็นมัน ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างเหนียว ใบกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร
-ผล  ผลกันเกรา ลักษณะผลเป็นผลเดี่ยวทรงกลม มีรสขม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ผิวเรียบเป็นมัน มีติ่งแหลม ๆสั้น ๆ อยู่ตรงปลายสุด ผลอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเป็นสีแดงเลือดนก จะติดผลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน และในผลมีเมล็ดเล็ก ๆ จำนวนมาก สีน้ำตาลไหม้ มีรูปทรงไม่แน่นอน ฝังอยู่ในเนื้อนุ่ม ๆ สีแดง
-ดอก    ดอกกันเกรา ลักษณะออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ เมื่อเริ่มบานจะเป็นสีขาว เมื่อบานเต็มที่จะเป็นสีเหลืองอมแสด ที่กลีบโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ปลายแฉกแหลม มีเกสรตัวผู้ยาวติดกับกลีบดอก และมีเกสรตัวเมียยาวอีก 1 อัน




การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำ

ช่วงเวลาออกดอก-ผล
ออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน

การใช้ประโยชน์และความสำคัญ
-ใช้ปลูกไว้เป็นไม้ประดับได้ เพราะมีความสวยงามและดอกมีกลิ่นหอมสดชื่น กลิ่นไม่ฉุนไม่เหมือนใคร ปลูกง่ายแข็งแรงทนทาน สามารถปลูกไว้ในบริเวณบ้านหรือในที่สาธารณะได้
-ไม้กันเกรา เป็นไม้มงคลที่ใช้ในการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์
-ใบอ่อนกันเกราสัตว์ป่าชอบกินเป็นอาหาร
-ผลกันเกราใช้เป็นอาหารของนกและค้างคาวได้

แหล่งอ้างอิง
เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, เว็บไซต์หมอชาวบ้าน (เดชา ศิริภัทร)

ต้นพุทรา



ข้อมูล
รายละเอียด
ภาพประกอบ
ชื่อพฤกษศาสตร์
Zizyphus mauritiana Lamk.

วงศ์
RHAMNACEAE

ชื่อพื้นเมือง
พุทรา (ไทย) มะตัน, นางต้มต้น, หมากทัน (จำปาศักดิ์), มะตันหลวง, มะท้อง, มะตอง, มะตันต้น (ภาคเหนือ, พายัพ)

ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ)
เป็นไม้พื้นเมืองของเอเชีย เกิดขึ้นเองตามป่าราบทั่วไป นิยมปลูกตามสถานที่ต่าง ๆ ต้องการแสงแดดมากพอสมควร

ชนิดป่าที่พบ
ชายป่าชื้น ชายป่าดิบ

ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
 - ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้
 - ใบ
 - ดอก
 - ผล
-ลำต้น   พุทรา เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 30 ฟุต
-ใบพุทรา  จะมีลักษณะกลมโตประมาณ 1 นิ้วฟุต ตามลำต้น และตามกิ่งก้านนั้น จะเป็นหนาม
-ดอกพุทรา  จะออกเป็นช่อเล็ก ๆ เป็นสีเหลือง และมีกลิ่นเหม็นมาก
-ผลพุทรา  จะมีลักษณะกลมโตเท่าผลมะไฟ บางชนิดจะมีผลกลม ตรงปลายผลนั้นจะแหลม คล้ายผลละมุดไทย และบางชนิดก็มีรสหวานมาก บางชนิดก็มีรสเปรี้ยว และฝาดต่าง ๆ กัน



การขยายพันธุ์
การทาบกิง และ เพาะเมล็ด

ช่วงเวลาออกดอก-ผล
ช่วงเริ่มฤดูฝนประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน

การใช้ประโยชน์และความสำคัญ
-เปลือกต้นและใบ รสฝาดเปรี้ยว แก้อาการท้องร่วง และอาเจียน แก้จุกเสียด แก้ลงท้อง
-ผลดิบ รสฝาด แก้ไข้ สมานแผล
-ผลสุก รสหวานเปรี้ยว ขับเสมหะ แก้ไอ เป็นยาระบาย
-เมล็ด รสเฝื่อนฝาด ใช้เผาไฟป่นเป็นยารักษาซางชักของเด็ก หรือใช้โขลกสุมหัวเด็ก รักษาอาการหวัด คัดจมูกเวลาเย็น ๆ

แหล่งอ้างอิง
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.thaihealth.or.th.  [19 ต.ค. 2013].

ต้นแคป่า

ข้อมูล รายละเอียด ภาพประกอบ ชื่อพฤกษศาสตร์ Dolichandrone serrulata (Wall. ex DC.) Seem. ...