ข้อมูล
|
รายละเอียด
|
ภาพประกอบ
|
ชื่อพฤกษศาสตร์
|
Dolichandrone
serrulata (Wall. ex DC.) Seem.
|
|
วงศ์
|
แคหางค่าง (BIGNONIACEAE)
|
|
ชื่อพื้นเมือง
|
แคขาว แคภูฮ่อ (ลำปาง), แคป่า (เลย, ลำปาง), แคทราย (นครราชสีมา), แคยาว แคอาว (ปราจีนบุรี), แคยอดดำ (สุราษฎร์ธานี), แคตุ้ย แคแน (ภาคเหนือ), แคนา
(ภาคกลาง)
|
|
ลักษณะทางนิเวศวิทยา
(การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ)
|
เขตการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศลาว
พม่า เวียดนาม และในประเทศไทยสามารถพบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออก และทางภาคกลาง โดยอาจจะได้ประปรายในป่าเบญจพรรณ และพบได้บ่อยตามนาข้าวทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ระดับความสูงไม่เกิน
300 เมตร
|
|
ชนิดป่าที่พบ
|
โดยสามารถพบต้นแคนาได้ตามป่า ตามทุ่ง
ตามไร่นา และตามป่าเบญจพรรณทั่วไป
|
|
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
- ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้
- ใบ
- ดอก
- ผล
|
-ลำต้น แคนา หรือ ต้นแคป่า
จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีความสูงของลำต้นได้ถึง 10-20 เมตร
ลำต้นเปลาตรง มักแตกกิ่งต่ำ
เปลือกของลำต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนอมสีเทาและอาจมีจุดดำประ
ผิวต้นเรียบหรือล่อนเป็นเกล็ดขนาดเล็ก ๆ
-ใบ ใบแคนา
มีใบเป็นใบประกอบแบบขนชั้นเดียวปลายคี่ ออกตรงข้ามกันประมาณ 3-5 คู่
ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว
ส่วนขอบใบหยักเป็นแบบซี่ฟันตื้น ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-7
เซนติเมตรและยาวประมาณ 6-16 เซนติเมตร ผิวใบด้านล่างมีขนสั้นอยู่
-ดอก ดอกแคนา
ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะสั้น ดอกมีขนาดใหญ่ ลักษณะของดอกเป็นรูปแตรสีขาว
โดยจะออกดอกตามปลายกิ่ง ดอกยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกยาวประมาณ 1.8-4
เซนติเมตร ในแต่ละช่อจะมีดอกอยู่ประมาณ 2-10 ดอก กลีบเลี้ยงหนาและเหนียว
ปลายเรียวเล็กและโค้งยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร หุ้มดอกตูมมิด เชื่อมติดกันเป็นหลอดโค้งปลายแหลม
เมื่อดอกบานจะมีรอยแตกทางด้านล่าง มีลักษณะเป็นกาบหุ้มกลีบดอกติดกันเป็นท่อ
ส่วนปลายขยายออกเป็นรูประฆัง และจะแยกออกเป็นแฉก 5 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกัน
ยาวประมาณ 16-18 เซนติเมตร ส่วนหลอดกลีบดอกจะยาวประมาณ 13-14 เซนติเมตร
ส่วนโคนจะแคบเป็นหลอด สีเขียวอ่อน ส่วนบนจะบานออกคล้ายกรวยเป็นสีขาวแกมสีขมพู
แฉกกลีบดอกมีอยู่ 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร
ที่ขอบกลีบจะย่นเป็นคลื่น ๆ ดอกเป็นสีขาว ดอกตูมเป็นสีเขียวอ่อน ๆ
โคนกลีบมีสีน้ำตาลปน ดอกมีเกสรตัวผู้ 4 ก้าน ติดอยู่ด้านในของท่อกลีบดอก ปลายแยก
มีขนาดสั้น 2 ก้านและยาว 2 ก้าน และยังมีเกสรตัวผู้ที่เป็นหมันอีก 1 ก้าน
มีรูปร่างเป็นเส้นเรียวเล็กคล้ายเส้นด้าย มีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร
ส่วนอับเรณูยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เป็นสีเทาดำ และจานฐานดอกเป็นรูปเบาะ
เป็นพูตื้น ๆ และมีเกสรตัวเมียอยู่ 1 ก้าน โดยดอกแคนาจะค่อย ๆ บานทีละดอก
-ผล แคนา ผลเป็นฝัก
ออกฝักช่อละประมาณ 3-4 ฝัก ลักษณะของฝักแบนเป็นรูปขอบขนาน
ฝักโค้งและบิดเป็นเกลียว ส่วนเมล็ดเป็นรูปสี่เหลี่ยม รวมปีกบางใส
|
|
การขยายพันธุ์
|
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำราก
|
|
ช่วงเวลาออกดอก-ผล
|
ดอกมีกลิ่นหอม บานในตอนกลางคืน
และจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน
|
|
การใช้ประโยชน์และความสำคัญ
|
ดอกแคนาสามารถนำมาใช้ประกอบอาหารได้
โดยนำมาทำเป็นแกงส้ม หรือจะนำดอกมาลวก หรือต้มจิ้มกินกับน้ำพริกก็ได้เช่นกัน[1],[3]
รสขมของดอกแคนาจะช่วยทำให้รับประทานอาหารอร่อยยิ่งขึ้น[6]
ต้นแคนาเป็นต้นไม้ทรงพุ่ม
ใบและฝักแลดูสวยงาม
เหมาะสำหรับปลูกเป็นไม้สำหรับให้ร่มเงาและเป็นไม้ประดับเสริมจุดเด่นให้สวนที่ปลูกได้[4]
ใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น วัว ควาย
(ข้อมูลไม่ได้ระบุแน่ชัดว่าใช้ส่วนไหน แต่เข้าใจว่าเป็นดอก)[4]
เนื้อไม้ของต้นแคนาสามารถนำมาใช้ทำสิ่งก่อสร้างอาคารบ้านเรือนได้
เช่น ทำเป็นเสา ไม้กระดาน ฝาเพด้าน พื้น ฯลฯ
|
|
แหล่งอ้างอิง
|
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “แคนา“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com.
|
วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ต้นแคป่า
อินทนิลบก
ต้นกันเกรา
ข้อมูล
|
รายละเอียด
|
ภาพประกอบ
|
ชื่อพฤกษศาสตร์
|
Fagraea
fragrans Roxb
|
|
วงศ์
|
(GENTIANACEAE)
|
|
ชื่อพื้นเมือง
|
มันปลา (ภาคเหนือ ภาคอีสาน), ตำแสง ตำเสา ทำเสา (ภาคใต้), ตาเตรา (เขมร-ภาคตะวันออก), ตำมูซู ตะมะซู (มลายู-ภาคใต้) เป็นต้น
|
|
ลักษณะทางนิเวศวิทยา
(การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ)
|
มีถิ่นกำเนิดตามป่าเบญจพรรณและตามที่ใกล้กับแหล่งน้ำ
ในประเทศไทย พม่า มาเลเซีย เวียดนาม และอินเดีย
สำหรับในบ้านเราต้นกันเกราขึ้นได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย
แต่จะพบได้มากทางภาคใต้
|
|
ชนิดป่าที่พบ
|
|
|
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
- ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้
- ใบ
- ผล
- ดอก
|
-ลำต้น กันเกรา
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 10-15 เมตร (อาจสูงได้ถึง 25 เมตร)
เปลือกต้นเรียบมีสีน้ำตาล เมื่อต้นแก่จะแตกเป็นร่องลึกตามยาว
-ใบ ใบกันเกรา ลักษณะของใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน
ใบหนาแน่นที่ปลายกิ่ง เป็นรูปรี สีเขียวเข้มเป็นมัน ปลายใบและโคนใบแหลม
ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างเหนียว ใบกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร
-ผล ผลกันเกรา
ลักษณะผลเป็นผลเดี่ยวทรงกลม มีรสขม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร
ผิวเรียบเป็นมัน มีติ่งแหลม ๆสั้น ๆ อยู่ตรงปลายสุด ผลอ่อนจะมีสีเขียว
เมื่อสุกแล้วจะเป็นสีแดงเลือดนก จะติดผลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน
และในผลมีเมล็ดเล็ก ๆ จำนวนมาก สีน้ำตาลไหม้ มีรูปทรงไม่แน่นอน ฝังอยู่ในเนื้อนุ่ม
ๆ สีแดง
-ดอก ดอกกันเกรา
ลักษณะออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ เมื่อเริ่มบานจะเป็นสีขาว
เมื่อบานเต็มที่จะเป็นสีเหลืองอมแสด ที่กลีบโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น
ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ปลายแฉกแหลม มีเกสรตัวผู้ยาวติดกับกลีบดอก
และมีเกสรตัวเมียยาวอีก 1 อัน
|
|
การขยายพันธุ์
|
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำ
|
|
ช่วงเวลาออกดอก-ผล
|
ออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน
|
|
การใช้ประโยชน์และความสำคัญ
|
-ใช้ปลูกไว้เป็นไม้ประดับได้
เพราะมีความสวยงามและดอกมีกลิ่นหอมสดชื่น กลิ่นไม่ฉุนไม่เหมือนใคร
ปลูกง่ายแข็งแรงทนทาน สามารถปลูกไว้ในบริเวณบ้านหรือในที่สาธารณะได้
-ไม้กันเกรา
เป็นไม้มงคลที่ใช้ในการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์
-ใบอ่อนกันเกราสัตว์ป่าชอบกินเป็นอาหาร
-ผลกันเกราใช้เป็นอาหารของนกและค้างคาวได้
|
|
แหล่งอ้างอิง
|
เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, เว็บไซต์หมอชาวบ้าน (เดชา ศิริภัทร)
|
|
ต้นพุทรา
ข้อมูล
|
รายละเอียด
|
ภาพประกอบ
|
ชื่อพฤกษศาสตร์
|
Zizyphus
mauritiana Lamk.
|
|
วงศ์
|
RHAMNACEAE
|
|
ชื่อพื้นเมือง
|
พุทรา
(ไทย) มะตัน, นางต้มต้น, หมากทัน (จำปาศักดิ์), มะตันหลวง, มะท้อง, มะตอง,
มะตันต้น (ภาคเหนือ, พายัพ)
|
|
ลักษณะทางนิเวศวิทยา
(การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ)
|
เป็นไม้พื้นเมืองของเอเชีย
เกิดขึ้นเองตามป่าราบทั่วไป นิยมปลูกตามสถานที่ต่าง ๆ ต้องการแสงแดดมากพอสมควร
|
|
ชนิดป่าที่พบ
|
ชายป่าชื้น
ชายป่าดิบ
|
|
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
- ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้
- ใบ
- ดอก
- ผล
|
-ลำต้น พุทรา เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง
มีความสูงประมาณ 30 ฟุต
-ใบพุทรา จะมีลักษณะกลมโตประมาณ 1
นิ้วฟุต ตามลำต้น และตามกิ่งก้านนั้น จะเป็นหนาม
-ดอกพุทรา จะออกเป็นช่อเล็ก ๆ
เป็นสีเหลือง และมีกลิ่นเหม็นมาก
-ผลพุทรา จะมีลักษณะกลมโตเท่าผลมะไฟ
บางชนิดจะมีผลกลม ตรงปลายผลนั้นจะแหลม คล้ายผลละมุดไทย และบางชนิดก็มีรสหวานมาก
บางชนิดก็มีรสเปรี้ยว และฝาดต่าง ๆ กัน
|
|
การขยายพันธุ์
|
การทาบกิง
และ เพาะเมล็ด
|
|
ช่วงเวลาออกดอก-ผล
|
ช่วงเริ่มฤดูฝนประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
|
|
การใช้ประโยชน์และความสำคัญ
|
-เปลือกต้นและใบ รสฝาดเปรี้ยว
แก้อาการท้องร่วง และอาเจียน แก้จุกเสียด แก้ลงท้อง
-ผลดิบ รสฝาด แก้ไข้
สมานแผล
-ผลสุก รสหวานเปรี้ยว
ขับเสมหะ แก้ไอ เป็นยาระบาย
-เมล็ด รสเฝื่อนฝาด
ใช้เผาไฟป่นเป็นยารักษาซางชักของเด็ก หรือใช้โขลกสุมหัวเด็ก รักษาอาการหวัด
คัดจมูกเวลาเย็น ๆ
|
|
แหล่งอ้างอิง
|
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
(สสส.). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaihealth.or.th. [19
ต.ค. 2013].
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ต้นแคป่า
ข้อมูล รายละเอียด ภาพประกอบ ชื่อพฤกษศาสตร์ Dolichandrone serrulata (Wall. ex DC.) Seem. ...